บทความ
ตัวชี้วัดเขตในการดำเนินการลดและคัดแยกมูลฝอย
สรุปปัญหาที่พบจากการบริหารงานการลดปริมาณมูลฝอยของสำนักงานเขต และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดได้
1. ปัญหาประชากรตามทะเบียนราษฎร์ที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตชั้นนอก และเขตที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาอัตราการเพิ่มของประชากรระหว่างปี2550-2552 พบว่า ค่าเฉลี่ยประชากรเพิ่มขึ้น 24 เขต และค่าเฉลี่ยประชากรลดลง 26 เขต จำนวนประชากรที่ไม่เท่ากัน
1.1 แหล่งที่มาประชากรแฝงที่ชัดเจนและอ้างอิงได้
1.2 จำนวนบ้าน จำนวนโรงงาน คนงาน แรงงานต่างด้าว ที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
3. มีการลักลอบนำมูลฝอยจากเขตเชื่อมต่อกับจังหวัดปริมณฑลมาทิ้งในกรุงเทพมหานคร
4. ปัญหาการจัดการขยะจากการพัฒนา กิ่งไม้ใบไม้ ขาดความชัดเจนในการบริหารจัดการมูลฝอยระหว่างสำนักและสำนักงานเขต
5. ปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความจำเป็นต้องใช้ใบเที่ยว ในการแสดงการใช้รถเช่าทำให้จำเป็นต้องนำกิ่งไม้เข้าชั่ง
6. ปัญหาภัยธรรมชาติทำให้ต้นไม้หักโค่น
7. ปัญหาการขาดการบูรณาการ การทำงานภายในสำนักงานเขต และการบริหารอย่างเป็นระบบ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบเพื่อควบคุมปริมาณมูลฝอยของสำนักงานเขต
การกำหนดตัวชี้วัด จึงมีข้อเสนอให้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการ ควบคู้กับการควบคุมปริมาณมูลฝอยจึงได้กำหนดตัวชี้วัด และคำอธิบายให้เกิดความชัดเจน เป็นตัวชี้วัดบูรณาการของสำนักงานเขตปีงบประมาณ 2554 ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่ 1. ความสำเร็จของการบริหารจัดการเพื่อการนำ มูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 2. ผลการลดปริมาณมูลฝอยรายเขต
ตัวชี้วัดที่ 1. ความสำเร็จของการบริหารจัดการเพื่อการนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ เป็นการวัดความสำเร็จการบริหารจัดการคัดแยกมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิด โดยมีการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน มี 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ และคณะทำงาน จัดทำคำสั่งมอบหมายงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ครอบคลุม การคัดแยกมูลฝอยในสำนักงานเขต รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารการนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ และคณะทำงาน ระดมความคิด และจัดทำแผนบริหารจัดการเพื่อการนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ ในภาพรวมของสำนักงานเขต กำหนดโครงการ/กิจกรรม และมีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการเพื่อการนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์
ขั้นตอนที่ 4 การรายงานผลการดำเนินการหน่วยงานรายงานผลการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม ต่างๆ ในขั้นตอนที่ 3 ให้สำนักสิ่งแวดล้อมรวบรวม 3 เดือน/ครั้ง
ตัวชี้วัดที่ 2. ผลการลดปริมาณมูลฝอยรายเขตตามเป้าหมายในแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานครที่กำหนดให้ ปี 2555 นำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ให้ได้ร้อยละ 15 หรือมีอัตราการเกิดมูลฝอยไม่เกิน 0.98 กก./คน/วัน โดยในปี 2554 กำหนดเป้าหมายนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 14 และปี 2555 กำหนดเป้าหมายนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 15 โดยจัดเก็บข้อมูลจากปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้รายเขต โดยกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกัน ตามลักษณะสภาพพื้นที่ ประชากร โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 กลุ่มเขตที่แนวโน้มประชากรเพิ่มขึ้น
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเขตที่แนวโน้มประชากรลดลง
จากการทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วย Pearson Correlation ประชากร ระหว่างปริมาณมูลฝอยและจำนวนประชากรรายเขต พบว่า ปริมาณมูลฝอยมีความสำสัมพันธ์กับจำนวนประชากรอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีขนาดความสัมพันธ์ 0.49
"