

Green city หรือ เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง เมืองที่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีประชากรที่ตระหนักถึงระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร ทั้งพลังงาน อาหารและน้ำ รวมไปถึงเพื่อลดการปลดปล่อยของเสียในระบบนิเวศทั้งในรูปของความร้อนและมลพิษต่างๆ ซึ่งจะทำให้เป็นเมืองที่สามารถดำรงชีวิต อยู่ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก สามารถสร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ โดยมีหลักการสำคัญในการลดขนาดรอยเท้านิเวศ (ecological footprint) และลดการปล่อยมลพิษให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ ลดปริมาณของเสียด้วยกระบวนการรีไซเคิลหรือแปลงของเสียเป็นพลังงาน และลดการเป็นสาเหตุของการสร้างสภาวะโลกร้อนในภาพรวม

องค์ประกอบของการเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green city
ได้มีการกำหนดเกณฑ์การชี้วัดความเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green city ของทุกทวีปทั่วโลก ซึ่งในส่วนของของทวีปเอเชียนี้จะพิจารณาองค์ประกอบในหมวดต่างๆ จำนวน 8 หมวดด้วยกัน ประกอบด้วย
หมวดที่ 1: ด้านการใช้พลังงานและการปล่อย CO2
ตัวชี้วัด: - ปริมาณการปล่อย CO2 ต่อคน (ตันต่อคน)
- ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วย GDP (MJ/US$) -
หมวดที่ 2: ด้านการใช้ที่ดินและอาคาร
ตัวชี้วัด: - สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร (ตารางเมตรต่อคน)
- ความหนาแน่นของประชากร (คนต่อตารางเมตร)
- นโยบายด้านอาคารเขียว
- นโยบายด้านการใช้ประโยชนที่ดิน
หมวดที่ 3: ด้านการขนส่งและจราจร
ตัวชี้วัด: - เครือข่ายการให้บริการรถขนล่งสาธารณะ พิจารณาจากความยาวของ
เส้นทางให้บริการต่อพื้นที่ในเมือง (กิโลเมตรต่อตารางกิโลเมตร)
- นโยบายการลดปัญหาจราจรติดขัด
- นโยบายการให้บริการรถขนล่งสาธารณะ
หมวดที่ 4: ด้านของเสีย
ตัวชี้วัด: - อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อประชากร( กิโลกรัมต่อคน)
- สัดส่วนของขยะมูลฝอยที่สามารถเก็บขนได้และได้รับการกำจัด
อย่างถูกหลักสุขาภิบาล (ในหน่วยสัดส่วนโดยปริมาตร)
- นโยบายการลดของเสีย ใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่
- นโยบายการเก็บขนและการกำจัดของเสียของเมือง
หมวดที่ 5: ด้านน้ำ
ตัวชี้วัด: - อัตราการใช้น้ำต่อคน (ลิตรต่อคน)
- สัดส่วนปริมาณน้ำสูญเสียของระบบจ่ายน้ำประปา (%)
- นโยบายด้านคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำดื่ม
- นโยบายด้านการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
หมวดที่ 6: ด้านการสุขาภิบาล
ตัวชี้วัด: - สัดส่วนของประชาชนที่เข้าถึงระบบสุขาภิบาลเช่นมีระบบ จัดการน้ำเสีย
และสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ (%)
- สัดส่วนปริมาณน้ำเสียที่สามารถรวบรวมและบำบัดได้ (%)
- นโยบายด้านการสุขาภิบาลของเมือง
หมวดที่ 7: ด้านคุณภาพอากาศ
ตัวชี้วัด: - ระดับความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์(NOx)ในอากาศ
(หน่วย: ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
- ระดับความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์(SOx)ในอากาศ
(หน่วย: ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
- ระดับความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10)ในอากาศ
(หน่วย: ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
- นโยบายการรักษาคุณภาพอากาศ
หมวดที่ 8: ด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด: - นโยบายและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม
- แนวทางการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
ซึ่งกรุงเทพมหานครจะเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า Green city ได้ ต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ทั้ง 8 หมวด ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการจะทำได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความพร้อมใจ มีจิตอาสาร่วมกันทำในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคน ซึ่งทุกองค์ประกอบในสังคมจะต้องปรับตัวให้มีวิถีชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีกิจกรรมตามเกณฑ์ในที่เกี่ยวข้องในหมวดต่างๆ เช่นชุมชน เป็น Green Community สถานศึกษา เป็น Green School , Green Collage, Green University สำนักงาน เป็น Green Office หน่วยงานราชการ เป็น Green Government office อาคารสูง เป็น Green Building ห้างสรรพสินค้า เป็น Green Department store หรือแม้กระทั่งบ้าน เป็น Green home เป็นต้น
โดยมีรายละเอียดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนไปสู่มหานครสีเขียวที่ระดมความคิดเห็นในการสัมมนา โดยท่านผู้อ่านยังสามารถแสดงตความคิดเห็นเพิ่มเติมในเว็บนี้ได้ ซึ่งเราจะรวบรวมส่งให้คณะอาจารย์นำไปพิจารณาด้วย ไปดูกันนะครับว่าเข้าทำตุ๊กตาไว้อย่างไรบ้าง คาดว่าหลังจากได้ความเห็นที่ดีๆจะสามารถนำไปแตกรายละเอียดว่าต้องทำอะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ทำไม่ได้ครับ
การสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ โรงแรมเอเชีย ราชเทวี ห้องประชุมราชเทวีแกรนด์ ชั้น ๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๕.๓๐ น.
……………………………………………
1. กรอบแนวคิดโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
โครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City) ถือเป็นโครงการสำคัญที่บูรณาการงานด้านสิ่งแวดล้อมเมืองและระบบนิเวศน์เมืองให้เกิดความสมดุล เพื่อขับเคลื่อนนโยบายมหานครสีเขียว หรือ Green City หรือเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น 1 ใน 6 นโยบายหลักของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้ประกาศไว้กับประชาชนชาวกรุงเทพมหานครว่า “รักกรุงเทพฯ ร่วมสร้างกรุงเทพฯ” โดย 6 นโยบายหลัก คือ 1) มหานครแห่งความปลอดภัย 2) มหานครแห่งความสุข 3) มหานครสีเขียว 4) มหานครแห่งการเรียนรู้ 5) มหานครแห่งโอกาสของทุกคน และ 6) มหานครแห่งอาเซียน ซึ่งแนวคิด Green City หรือเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นแนวคิดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีประชากรที่ตระหนักถึงระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน ลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร ทั้งพลังงาน อาหารและน้ำ รวมไปถึงเพื่อลดการปลดปล่อยของเสียในระบบนิเวศทั้งในรูปของความร้อนและมลพิษต่างๆ ซึ่งจะทำให้เป็นเมืองสามารถดำรงชีวิต อยู่ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก เช่นสามารถสร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ โดยมีหลักการสำคัญในการลดขนาดรอยเท้านิเวศ (ecological footprint) และลดการปล่อยมลพิษให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ ลดปริมาณของเสียด้วยกระบวนการรีไซเคิลหรือแปลงของเสียเป็นพลังงาน และลดการเป็นสาเหตุของการสร้างสภาวะโลกร้อนในภาพรวม โดยมีเป้าหมายให้ทุกองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนนำแนวคิดวิถีชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกองค์กรเป็นองค์กรสีเขียว (Green) และส่งผลให้กรุงเทพเป็นมหานครสีเขียว (Green City)ได้อย่างยั่งยืน
ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการโครงการคือทุกภาคส่วนในสังคมจะประสานความร่วมมือกันในลักษณะเครือข่ายที่เรียกว่าสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์กรต่างๆปรับตัวเป็นองค์กรสีเขียว เช่นชุมชนสีเขียว (Green community) โรงเรียนสีเขียว (Green school) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ตลาดสีเขียว (Green Market) ห้างสรรพสินค้าสีเขียว (Green Department store) ผู้ผลิตสินค้าสีเขียว (Green Produce)ร้านสะดวกซื้อสีเขียว (Green store) อาคารสำนักงานสีเขียว (Green building) โรงพยาบาล สีเขียว (Green Hospital) หน่วยงานราชการสีเขียว (Green government office) และกลุ่มอื่นๆที่สามารถปรับตัวเป็น Green โดยแต่ละกลุ่มจะเข้ามาเป็นเครือข่ายสังคมที่มีวิถีชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อหลายกลุ่มเป็น Green แล้วก็จะนำเมืองให้เป็น Green ด้วย เป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความเป็นมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน
2. สาระสำคัญของกรอบแนวทาง ในการดำเนินการโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว
ในการจัดทำกรอบการดำเนินการโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียวหรือ Bangkok Green city ได้ศึกษาจากเกณฑ์ชี้วัดความเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green city ของทุกทวีปทั่วโลก ซึ่งกรุงเทพมหานครได้พิจารณานำเกณฑ์ชี้วัดความเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green city ของทวีปเอเชีย มาเป็นกรอบแนวทางการพัฒนา ซึ่งจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคม ในการสัมมนาเชิงวิชาการในวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 โดยศูนย์บริการทางวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดแล้วนำไปวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดทำ
กรอบแนวทางการดำเนินการโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียวเสนอต่อกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าได้จาก เว็บไซด์ “กรุงเทพฯเมืองสีเขียว”
http://bangkokgreencity.bangkok.go.th หรือ Facebook “กรุงเทพฯเมืองสีเขียว” ซึ่งเกณฑ์ชี้วัดดังกล่าว มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ร่วมกันสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองสีเขียว เป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการ 8 หมวดด้วยกัน ได้แก่
1) ด้านการใช้พลังงานและการปล่อย CO2 เช่นปริมาณการลดการปล่อย CO2 ต่อคน การลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยGDP นโยบายต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงานสะอาด
2) ด้านการใช้ที่ดินและอาคาร เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ความหนาแน่นของประชากร การใช้ประโยชน์ที่ดิน
3) ด้านการขนส่งและจราจร เครือข่ายการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ
4) ด้านของเสีย เช่นการลดอัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อประชากร สัดส่วนของขยะมูลฝอยที่สามารถเก็บขนได้และได้รับการกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล นโยบายการลดของเสีย การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่
5) ด้านน้ำ เกี่ยวกับอัตราการใช้น้ำ สัดส่วนปริมาณน้ำสูญเสียของระบบจ่ายน้ำประปา นโยบายด้านคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำดื่ม นโยบายด้านการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
6) ด้านการสุขาภิบาล เกี่ยวกับสัดส่วนของประชาชนที่เข้าถึงระบบสุขาภิบาล เช่นมีระบบจัดการ น้ำเสียและสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ สัดส่วนปริมาณน้ำเสียที่สามารถรวบรวมและบำบัดได้ นโยบายด้านการสุขาภิบาลของเมือง
7) ด้านคุณภาพอากาศ เกี่ยวกับระดับความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ระดับความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx)ในอากาศ และระดับความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10)ในอากาศ และนโยบายการรักษาคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
8) ด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม แนวทางการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 1. ด้านพลังงานและการปล่อย CO2
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอ
การแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
การปล่อย CO2 ในกทม.
ปี 2008 คือ 7.1 ตัน/คน/ปี
สูงกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย
(ค่าเฉลี่ย 4.6 ตัน/คน/ปี) |
ลดการปลอดปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก |
ทุกภาคส่วนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจวัตรประจำวัน จากการเดินทาง การใช้พลังงานในอาคาร การใช้สินค้า การใช้พลังงานทดแทน |
|
2. |
การใช้พลังงานของกทม. สูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับ GDP ในปี 2008 คือ 6.1 MJ/US$ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย (ค่าเฉลี่ย 6.0 MJ/US$) |
ลดการใช้พลังงานฟอสซิลด้วยการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด |
ทุกภาคใช้พลังงานอย่างเต็มประสิทธิภาพประหยัด ลดการสูญเสีย และเกิดประโยชน์สูงสุด |
|
|
|
|
ทุกภาคส่วนใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดให้มากขึ้น |
|
3. |
ข้อเสนออื่นด้านพลังงานและ CO2
(ต่อด้านหลังได้) |
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 2. ด้านการใช้ที่ดินและอาคาร
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในปี 2553 คือ 4.7 ตรม./คน (ค่าเฉลี่ย 38.6 ตรม./คน และเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกคือ 9 ตร.ม/คน) |
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ |
เพิ่มพื้นที่สวนหย่อม สวนสาธารณะในหมู่บ้าน ชุมชน สถานศึกษา สถานที่ราชการ โรงพยาบาล และในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ฯลฯ |
|
|
|
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาระบบนิเวศน์เมือง |
การรักษาพื้นที่สีเขียว พื้นที่เกษตร ริมถนน เกาะกลาง และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน ในอาคาร ลานจอดรถ ที่ว่างหน้าอาคาร ทางเชื่อมต่ออาคารหรือดาดฟ้าฯลฯ |
|
2. |
อาคารสีเขียว |
อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงานใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการของเสียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
|
3. |
การใช้ประโยชน์จากที่ดิน |
ขยายตัวของเมืองที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
การปฏิบัติตามกฎหมายผังเมืองรวม และให้มีพื้นที่สีเขียวจากการพัฒนาที่ดิน |
|
4. |
ข้อเสนออื่นด้านการใช้ที่ดินและอาคาร (ต่อด้านหลังได้) |
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 3. ด้านการจราจรและขนส่ง
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
การให้บริการขนส่งสาธารณะ จากความยางเส้นทางให้บริการต่อพื้นที่ในเมือง 0.04 km/km2 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย ( 0.17 km/km2) |
เพิ่มระยะทางการให้บริการรถไฟฟ้า BRT หรือบริการของ ขสมก. |
มีบริการสาธารณะที่สะดวก ปลอดภัย และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง |
|
|
|
มีทางจักรยาน และทางเดินที่ปลอดภัย |
ประชาชนสามารถใช้จักรยานและเดินเท้าได้อย่างสะดวก ปลอดภัย |
|
2. |
ข้อเสนออื่นด้านจราจรและขนส่ง
(ต่อด้านหลังได้) |
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 4. ด้านของเสีย
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
อัตราการเกิดขยะในกทม.เพิ่มขึ้น (กรมควบคุมมลพิษประมาณการว่ามีขยะเกิดขึ้นต่อประชากร 1.5 กก./คน/วัน) |
ลดปริมาณขยะที่ต้องเก็บขนและนำไปกำจัดโดยการคัดแยกไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิด โดยใช้หลักการ 3R |
ทุกภาคส่วนตระหนัก และร่วมกันลดและคัดแยกไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดก่อนทิ้งเป็นขยะ |
|
2. |
การจัดเก็บขยะและการกำจัดขยะในกทม.
( สามารถจัดเก็บและนำไปกำจัดได้100% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย (83%) แต่ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 8,700 ตัน/วัน ในปี 2554 เป็น 9,800 ตัน/วันในปี 2555 |
ลดของเสียที่จะต้องนำไปกำจัดโดยการคัดแยกและนำกลับมาใช้ประโยชน์ทั้งที่แหล่งกำเนิดและแหล่งกำจัด |
มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำจัดเช่นทำปุ๋ย แก๊สชีวภาพ เชื้อเพลิง หรือเผาเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บขนมูลฝอยแยกประเภทกำจัดมูลฝอยแยกประเภท |
|
3. |
ข้อเสนออื่นด้านของเสีย
(ต่อด้านหลังได้) |
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 5. ด้านน้ำ
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
อัตราการใช้น้ำเฉลี่ยของคนกทม. ประมาณ 340 ลิตร/คน/วัน สูงกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย (ค่าเฉลี่ย 178 ลิตร/คน/วัน) |
ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคโดยใช้น้ำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด |
อัตราการใช้น้ำประปาเฉลี่ยต่อคนของคนในกรุงเทพมหานครลดลง |
|
2. |
น้ำสูญเสียในระบบท่อจ่ายน้ำประปาของ กทม. 35% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย (ค่าเฉลี่ย 22%) |
ลดการสูญเสียน้ำจากระบบจ่ายน้ำประปา |
การสูญเสียน้ำจากระบบจ่ายน้ำประปาในกทม.ลดลง |
|
3. |
ข้อเสนออื่น ด้านน้ำประปา
(ต่อด้านหลังได้)
|
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 6. ด้านการสุขาภิบาล
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
สัดส่วนของประชากรในกทม.เข้าถึงระบบสุขาภิบาลที่ดีเช่นการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล |
พัฒนาบริการและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงระบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลของประชาชน |
ประชาชนเข้าถึงระบบสุขาภิบาลที่ดีทั้งด้านการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล |
|
2. |
น้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดในกทม. |
ก่อสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
|
น้ำในคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการบำบัด คุณภาพน้ำสะอาดไม่มีขยะ กลิ่นเหม็น และแก๊สสร้างความเดือดร้อนรำคาญ |
|
|
|
ประชาชนร่วมกันดูแลรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำคูคลองให้คลองสวย น้ำใส โดยไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำลำคลอง |
น้ำในคลองใส สะอาด ไม่มีขยะ กลิ่นเหม็น และแก๊สสร้างความเดือดร้อนรำคาญ
|
|
3. |
ข้อเสนออื่น ด้านการสุขาภิบาล
(ต่อด้านหลังได้)
|
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 7. ด้านคุณภาพอากาศ
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
ปริมาณการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์( NOx ) ต่อวัน 42.7 ug/m3 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย(ค่าเฉลี่ย 46.7 ug/m3 ) |
การลดการใช้ยานพาหนะ |
คุณภาพอากาศสะอาด ปลอดภัยต่อประชาชน |
|
2. |
ปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ ( SOx )ต่อวัน 12.6 ug/m3 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย(ค่าเฉลี่ย 22.5 ug/m3 ) |
การลดการใช้ยานพาหนะ |
คุณภาพอากาศสะอาด ปลอดภัยต่อประชาชน |
|
3. |
ปริมาณการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ( PM10 )ต่อวัน 48.1 ug/m3 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 22 เมืองในเอเชีย (ค่าเฉลี่ย 107.8 ug/m3 ) |
การควบคุม ตรวจจับรถยนต์ควันดำ โดยเฉพาะ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล |
คุณภาพอากาศสะอาด ปลอดภัยต่อประชาชน |
|
4. |
ข้อเสนออื่น ด้านคุณภาพอากาศ
(ต่อด้านหลังได้)
|
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
หมวดที่ 8. ด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมุ่งพัฒนาให้กรุงเทพฯเป็นมหานคร สีเขียว โดยมีแผนวิสัยทัศน์กรุงเทพมหานคร 20 ปี และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 12 ปี พ.ศ. 2552-2563 ในการขันเคลื่อนนโยบาย |
การนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง |
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ที่อากาศสะอาด มีระบบการจัดการ ขยะ น้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ดีประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี |
|
2. |
การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่องพร้อมเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชน ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกำหนด EIA |
คุณภาพอากาศสะอาด ปราศจากฝุ่นละออง และปลอดสารพิษปนเปื้อน |
|
3. |
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม |
ประชาชน องค์กรภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยปรับวิถีชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร โดยแต่ละองค์กรมีนโยบายเป็นองค์กรสีเขียว เช่น ชุมชนสีเขียว โรงเรียนสีเขียว ห้างสรรพสินค้าสีเขียว สำนักงานสีเขียว และร่วมกันทำงานในลักษณะเครือข่ายสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
ทุกภาคส่วนในสังคมทั้งบุคคลและองค์กรมีวิถีชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเมืองดี คุณภาพชีวิตประชาชนอยู่ดีมีสุข เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเมืองที่คนทั่วโลกอยากมาเยือน |
|
4. |
ข้อเสนออื่น ด้านคุณภาพอากาศ
(ต่อด้านหลังได้) |
|
|
|
แบบรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อจัดทำกรอบแนวทางขับเคลื่อนโครงการกรุงเทพฯเมืองสีเขียว (Bangkok Green City)
ข้อเสนอด้านอื่น(ระบุ......................................................................................)
ลำดับ |
ข้อมูลปัญหา/
สถานการณ์ปัจจุบัน |
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาอย่างไร |
สิ่งที่อยากให้เป็น |
ท่านจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง |
1. |
|
|
|
|
2. |
|
|
|
|
3. |
|
|
|
|
โดยมีกำหนดเชิญภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมสัมมนาอย่างต่อเนื่องในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะเชิญชวนทุกภาคส่วมาร่วมกันทำให้องค์กรเป็นองค์การสีเขียว โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่างตามศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน ทำมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แต่วันนี้เรามาชวนขาวกรุงเทพฯไปด้วยกัน ตามนโยบายผว.กทม. "รักกรุงเทพฯร่วมสร้างกรุงเทพฯ"ก้าวไปสู่การเป็นมหานครสีเขียว